วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเรียนรู้แบบการทำงาน

ในชีวิตผมถือว่า เปลี่ยนงาน แบบ เปลี่ยนสายงานมาแล้ว 3 ครั้งใหญ่

ทำงาน ภาครัฐ, CG , BI

ซึ่งแต่ละสายงานนั้น เรียกว่า มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หรือไม่เกี่ยวข้อง เมื่อผมเริ่มงานใหม่ที่ไร ก็ต้องเริ่มจากศูนย์ใหม่ตลอด

ทำให้ชีวิตเหมือนเด็กจบใหม่มาแล้ว 3 - 5 ครั้ง ข้อดีคือ ชีวิตรู้สึกสดใหม่ตลอด แต่ข้อเสียคือ ชีวิตก็ไม่ก้าวไปไหนสักที พออายุมากๆ เข้าไปแล้วบอกไม่เคยมีประสบการณ์(ในสายงานนั้นๆ) จะรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไร ยิ่งแก่ขึ้นก็จะรู้สึกแปลกๆ ขึ้น

แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้อย่างหนึ่ง สิ่งที่เหมือนกันคือ ต้องเรียนรู้เพื่อให้สามารถทำงานได้

หายากครับที่ใครเรียนจบแล้วสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ทันที ที่เห็นก็มีแต่พวก แพทย์ พยาบาล ครู เพราะส่วนใหญ่จะเรียนกันแบบ จากสถานการณ์จริง มีอาจารย์หมอ พยาบาล จริง มาสอนให้ดู ความจริงก็เทียบได้กับเวลาเราไปทำงานแล้วมีรุ่นพี่มาสอนงานให้ ทำให้นักศึกษาแนวนี้ จบมาจะพร้อมทำงานได้ทันที

แต่ส่วนใหญ่คณะอื่นๆ จะไม่มีวิธีการสอนอย่างนี้ บางคนจบมาแบบไม่เคยช่วยงานเพื่อนทำงานเลย หรือ ไม่รู้จักคำว่ารับผิดชอบก็มี เมื่อชีวิตจบมาก็ต้องปรับตัวกันเยอะหน่อยครับ ถ้าปรับตัวไม่ดี เอาตัวรอดไม่ได้ ก็จะเป็นปัญหากับที่ร่วมงาน

ซึ่งทำให้ พวก HR รับสมัครงานบางครั้งไม่กล้าเสี่ยงกับ เด็กจบใหม่ทันที หรือ พวกที่ Resume ว่างงานมานานเกินไป

แต่สุดท้าย ไม่ว่าจะเรียนเก่งแค่ไหน ประสบการณ์มีกี่ปี แต่เวลาทำงาน ก็ต้องมาเรียนรู้

ซึ่งวิธีเรียนรู้แบบการทำงาน ที่โดนส่วนใหญ่

วันแรกๆ เค้าจะโยนอะไรมาให้อ่าน ไม่ว่าจะเป็น กฎระเบียบบริษัท เบื้องต้น ยังไปเอกสารงานประเภท ทฤษฎีพื้นฐาน ให้ดีคือ ก็นั่งอ่านไปให้ละเอียด เพราะจากประสบการณ์ เราจะไม่มีโอกาสกลับมาทำความเข้าใจกับมันอีกแล้ว โดยเฉพาะกฎระเบียบ

ช่วงต่อมา เราได้รับพวก เอกสาร การทำงานเบื้องต้นขั้นพื้นฐานซึ่งเราอ่านแล้ว ถ้าไม่ใช่เรียนจบสายตรงมาหรือเรียนแล้วจำไมได้ ก็จะอ่านแบบไม่รู้เรื่องครับ แต่จำไว้ว่า อ่านให้เยอะ เวลาทำจะได้คุ้นๆ แล้วกลับมาอ่านอีกครั้งจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ครับ

ในช่วงนี้สักพักจะมีงานเล็กน้อยๆ ให้เราทำ ซึ่งบางที เราก็ทำไม่ได้ ถ้ามีรุ่นพี่ดูแล ก็จะมาทำให้เราดู และกรุณาจำไว้ว่า นี้คือ พระคุณนะครับ อย่าได้เรียกเค้าตอบปัญหาที่เราเคยถามไปแล้ว

เมื่อถึงขั้นนี้เราจะเริ่มมีงานเข้าบ้าง แต่อาจใช้เวลาเป็นเดือน บางที่ไม่มีใครมาดูแล เราจะยิ่งทำใจลำบาก ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด ถ้าหนักคือ นั่งเปิดตำรา อ่านเคส ดู KM หรือ มีคนเขียนขั้นตอนให้ทำตาม ช่วงนี้จะทำตามแบบ ขอให้ปิดงานได้ คือทำตามอย่างไม่รู้เรื่อง ซึ่งขอให้จำขั้นตอนพวกนี้ จำว่าลักษณะงานส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง ซึ่งต่อไปงานพวกนี้จะเป็นงานประจำ ถ้าเราชำนาญจะทำให้การทำงานเราง่ายขึ้นต่อไป

ช่วงต่อมาคือ เราเริ่มแม่นขึ้น คราวนี้ เราจะทำงานแบบเริ่มไม่ต้องปิดตำรา ไม่ต้องอ่านขั้นตอน แต่ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เปิดมากขึ้น การรับงานมาส่วนใหญ่มาเป็นเรื่องมากเลยมากกว่า ทำในขั้นตอน

เราจะเริ่มเจอปัญหาการทำงานจริง มาถึงขั้นนี้แล้ว การทำงานต้องใช้สมอง ความคิด และ คอยแก้ปัญหาเอง แต่ถ้าเราทำงานในช่วงการเปิดตำรามาเยอะ แล้วเจอปัญหามาเยอะ เราก็จะไม่มีปัญหามาก ช่วงนี้ ดีไม่ดี รุ่นพี่จะไม่ค่อยอยู่ในถามให้ตอบแล้ว (ส่วนใหญ่เริ่มเลื่อนตำแหน่ง เปลี่ยนงาน ลาออก) ถ้าในดี ช่วงก่อนหน้าทำให้เยอะ ถามให้มาก เจอปัญหาให้มาก ได้สบายช่วงนี้

ช่วงต่อมาคือ เราสามารถสร้างงานได้เอง งานเราอาจจะผิด หรือ ถูก ก็ได้ตามแต่ละคนมอง โดยหลักขั้นนี้ผมจะเชื่อลูกค้า หรือคนที่เราต้องทำงานให้แล้ว ตอนนี้อาจเริ่มมีรุ่นน้องให้เราเริ่มสอนงานแล้วก็ได้

เนี่ยละครับ ขั้นตอนการเรียนรู้ในการทำงานที่ผมลองสรุปมาจากชีวิตจริง แบ่งเป็น

ขั้นไม่รู้อะไรเลย
ขั้นทำตามตำราหรือคนอื่นบอกขั้นตอน
ขั้นเริ่มฉายเดี่ยว
ขั้นเป็นแล้ว

สรุปง่าย ดังนี้ละครับ

ขอให้ท่านจงมีโชคในการทำงานนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น