วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การโกหก

ในชีวิตผมเจอคนขี้โม้มาเยอะ แต่ประเภทที่น่ากลัวคือเรื่องที่พูดนั้น เค้าคิดว่าเป็นเรื่องจริง เช่นบางคนบอกไปนอก ประวัติการทำงานซุปเปอร์สุดยอด แต่พอแอบไปอ่าน Resume กับได้ทำงานธรรมดาเหลือเกิน แล้วก็ไม่เคยบอกว่าตัวเองได้ทำงานอย่างนั้นใน Resume ตัวเองเลย

พวกผมก็เคยนั่งจับโกหกคนประเภทนี้อยู่ แต่ที่น่ากลัวจริงๆ คือ มีคนพรรคนี้อยู่ในเยอะมากในสังคมยอมรับว่าหลังจบมหาวิทยาลัยแล้วก็เจอคนแบบนี้เยอะจริงๆ แต่ที่สำคัญคือ เราจะจับเท็จได้เมื่อไรนั้นเอง

วันนี้ก็อ่านๆ แล้วเจอบทความที่พูดเกี่ยวกับการโกหก ของดาราคนหนึ่ง แต่เป้นข่าวแนววิชาการ เลยขออนุญาตมาใช้อธิบายจำแนกประเภทการโกหกหน่อย ซึ่งอธิบายได้น่าสนใจทีเดียว



การโกหกของคนมีหลายประเภท

ประเภทแรก
มักจะเริ่มตั้งแต่เด็ก และการโกหกครั้งแรกๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เด็กจะคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่และกลัวถูกทำโทษ ยกตัวอย่าง เขาอาจทำข้าวของเสียหาย ทำกระจกแตก แต่กลัวถูกทำโทษ ก็เลยโกหกว่าไม่ได้ทำ ส่วนใหญ่จะเริ่มโกหกพ่อแม่ หรือคนที่มีอำนาจในการลงโทษเขาได้ ถ้าการโกหกในครั้งแรกๆ ได้รับการแก้ไขแต่เนิ่นๆ ผู้ใหญ่รู้เท่าทัน และสอนให้เขารู้ว่าการโกหกเป็นเรื่องไม่ดี ถ้าลูกพูดความจริงลูกอาจไม่ถูกทำโทษ แต่ถ้าโกหกต้องถูกลงโทษ และพ่อแม่ต้องจริงจังตั้งแต่เล็ก ขอให้ลูกยอมรับความจริง เขาก็จะได้รับการปลูกฝังว่า ไม่ว่าเขาจะทำอะไรไม่ดี แต่ถ้าเขาพูดความจริง ก็จะทำให้ทุกอย่างแก้ไขได้ แต่ถ้าในระดับนี้ เขาสามารถโกหก โดยที่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนหรือปล่อยผ่าน เขาก็จะเรียนรู้ว่าการโกหกก็ไม่มีผลอะไร เขาก็จะทำต่อไปจนติดเป็นนิสัย

ประเภทที่สอง
การโกหกในระดับที่เพิ่มขึ้น คือการโกหกโดยโยนความผิดให้คนอื่น อาจจะด้วยความที่กลัวความผิด หรือไม่ก็เกิดจากความไม่พอใจคนอื่น และมีการโกหกว่าผู้อื่นเป็นคนทำ เป็นการใส่ร้าย ประเภทนี้อาจเริ่มตั้งแต่เล็กก็ได้เช่นกัน ถ้าผู้ใหญ่รู้เท่าทัน และสามารถเข้าไปจัดการปัญหาตั้งแต่แรก และทำโทษเด็กที่มีพฤติกรรมแบบนี้ พร้อมทั้งอบรมสั่งสอนด้วยว่า ทำพฤติกรรมแบบนี้ไม่ดีอย่างไร แล้วผู้อื่นที่ถูกใส่ร้ายจะได้รับผลกระทบอย่างไร ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนด้วย
หรืออาจจะสอนว่าเมื่อหนูยังเป็นเด็ก หนูทำแบบนี้ อาจจะมีคนให้อภัยได้ แต่ถ้าหนูโตเป็นผู้ใหญ่ อาจจะต้องถึงขั้นถูกดำเนินคดีความก็ได้

ประเภทที่สาม
โกหกโดยการสร้างเรื่องเพื่อลบปมด้อยบางอย่างของตนเอง เป็นการโกหกเพราะคิดว่าถ้าโกหกแล้วทำให้ตัวเองได้รับการยอมรับมากขึ้น มีผู้คนสนใจตัวเองมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ คนประเภทนี้ก็มักจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่คนรอบข้างจะมองเห็นและจับพฤติกรรมเหล่านี้ได้ไม่ยาก เพราะการแสดงออกต่างๆ ของเขา จะสะท้อนออกมาเอง และเมื่อเป็นเช่นนี้ ท้ายสุด เพื่อนๆ คนรอบข้างก็จะตีตัวออกห่างไปเองโดยปริยาย เพราะรับไม่ได้ที่เขาชอบโกหก
ถ้าพ่อแม่สังเกตว่าลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้ตั้งแต่เล็ก ก็ต้องปรับพฤติกรรม ให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าในตัวเอง อย่าพูดถึงปมด้อย หรือล้อเลียนในเรื่องที่เขาเป็นปัญหา และสอนให้เขารู้ว่าทุกคนไม่มีใครสมบูรณ์พร้อม คนเรามีปมเด่นปมด้อยกันทุกคน แต่การจะอยู่ร่วมในสังคมต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ และมีความจริงใจให้ผู้อื่นด้วย

ประเภทที่สี่
โกหกจนเป็นนิสัย ประเภทนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อโกหกแล้วรู้สึกดี และการโกหกประเภทนี้มักจะขยายวงเป็นอยากมีอยากได้ของคนอื่น และนำไปสู่การคดโกง และก่อเหตุไม่ดี ซึ่งท้ายสุดมักจะจบลงด้วยการติดคุกติตาราง

ประเภทที่ห้า
เป็นประเภทที่ดิฉันสนใจเป็นพิเศษ จนเข้าข่ายและมักถูกประณามว่าเป็นคนลวงโลก เพราะนับวันจะมีผู้คนประเภทนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และกลุ่มคนประเภทนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่าจะมีปัญหาทางด้านสภาพจิตร่วมด้วย กลุ่มคนประเภทนี้มีปมด้อยเช่นกัน

บทความจาก คุณ สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000142484

ผมเคยเจอประเภทที่ 3 จนกลายเป็นประเภทที่ 5 มาแล้ว น่ากลัวมาก เพื่อนที่มารู้จักกันตอนโต มันเตือนสั่งสอนกันยาก จนบางครั้งเราต้องปล่อยๆ หรือทำว่าแกเป็นอากาศไปเลย แม้ทางจิตวิทยาจะมองว่ามันผิด แต่ใครจะช่วยเค้าละครับ

ขอให้พวกเราระวังเรื่องใกล้ตัวด้วยนะครับ ทุกสิ่งอาจเป้นคำลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น