วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเขียนลายไทย

ช่วงนี้แก้งาน IS รอบส่งบัณฑิตวิทยาลัยใกล้สำเร็จแล้ว แต่ก็ไม่ได้เร่งมากมาย การที่ไม่มีเรียนแล้วทำให้ชีวิตมันแปลกๆ ชอบกล

โดยเมื่่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (10/07/52) ผมได้ไปหอศิลป์กรุงเทพ ที่อยู่ตรงข้ามกับมาบุญครอง ซึ่งกลายเป็นสถานที่ เมื่อผมคิดไรไม่ออก ก็จะไปบ่อยสุด ไปดูงานศิลปะบ้าง ดนตรีบ้าง โชว์ไรตามเทศกาลบ้างซึ่งเป้นสถานที่ที่ผมชอบมาก แม้งานยังมีไม่มากเท่าไร

แต่สิ่งที่ผมได้เรียน แล้วจะนำมาบันทึกใน ไดอารีการเรียนของผม คือ ห้องสมุดชั้นใต้ดินของหอศิลป์ เป้นสถานที่คนไม่แน่นหนามากเกินไป มีหนังสือศิลปะให้อ่านได้พอสมควร มีหนังสือสอนศิลปะหลายแขนง แต่ผมสนใจเล่มหนึ่งขึ้นมา

เป็นหนังสือสอนลายไทยฉบับสมบูรณ์ 1 ของอาจารย์เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล
ซึ่งเมื่อผมได้อ่านก็จำได้ว่า ผมเขียนดูอาจารย์ออกรายการ สอนศิลป์ ของ Thaitbs ปีที่แล้ว เพราะจำวิธีการฝึกพื้นฐานการเขียนลายไทยได้

โดยการเขียนลายไทยนั้น ให้ฝึกเขียน

ตัวไหล 500 ตัว

ตัวบาก 500 ตัว

ให้ชำนาญก่อน ถึงจะฝึกเขียนอย่างอื่นได้สวยงาม ซึ่งผมก็เคยฝึกอยู่ แต่ไม่ค่อยสวยเท่าไร

แต่ในหนังสือเล่มนี้ ได้เขียนอธิบายรายละเอียดลายไทยไว้มากเหมือนกัน

ซึ่งที่ผมได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้คือ

การแบ่งการเรียนลายไทย
1.กนก คือ พวกลายต่างๆ
2.นารี คือ การเขียนคนทุกแบบ
3.กระบี่ คือ การเขียนลิง ยักษ์
4.คชะ คือ เขียนช้าง รวมถึงสัตว์อื่นๆ

ซึ่งผมก็ได้ฝึกวาดลงกระดาษที่เตรียมไปเอง ในห้องสมุดนั้นละครับ ไม่ได้ไปไหนเลย วาดแต่ ไหล กับ บาก

ผมจำได้ว่า พี่โอ ผมเคยบอกว่าตอนเรียน ศิลปะไทย นั้นให้ไปที่พิพิธพันธ์สถานแห่งชาติ ตรงสนามหลวงติดใกล้กับธรรมศาสตร์ แล้ว ให้ไปวาดให้หมดทุกห้อง ได้เรียน ศิลปะไทย และ ประวัติศาสตร์ศิลปไทย ด้วย

ซึ่งมาดูหนังสือ ชุดลายไทย ก็ ทำให้เข้าใจได้ว่า พวกลายกนก ทั้งหลายนำมาประยุกต์ให้เป้น เครื่องใช้ รถลากในงานราชพิธี ด้วนนั้นเอง

การเรียนในวันนี้ขอจบเพียงแค่นี้ก่อน แล้วเมื่อผมไปเพิ่มเติมความรู้อะไรมาแล้วจะมาเล่าให้ฟังวันหลังนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น