วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Voice recognition ผู้ช่วยฟังภาษาอังกฤษ

วันนี้ผมจะมาพูด เกี่ยวกับ การใช้ voice recognition ซึ่งเราอาจจะรู้จักกันดีอยู่แล้วใน การใช้ siri หรือ พวกอินเตอร์แอคทีฟ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น google search ซึ่งสามารถใช้เสียงได้ เครื่องจริงโปรแกรมพวกนี้ เหมือนกับการ แปลง เสียงสัญญาณ ที่เป็นคำพูด ให้ออกมา เป็น ภาษาเขียน และ นำภาษาเขียน ไปใช้กับ โปรแกรมต่างๆ


สำหรับผม ที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ในทักษะ ด้านการฟัง แต่ก็มีความสามารถ ด้านการอ่าน ทำให้บางครั้ง การฟังคลิป ต่างๆ ใน youtube หรือวิดีโอสอน บางครั้ง ไม่สามารถจับข้อความ ที่สำคัญสำคัญ ได้ครบถ้วน หรือบางครั้ง การฟัง ผิด บท หรือความหมาย ของคำไปเลย


ซึ่งอย่างไร youtube หนังจะมี ปุ่ม subtitle ให้เรากด จะเห็นได้ว่า มันสามารถแปลงเสียงเป็นคำพูด ที่เป็นsubtitle แปลให้เราได้อ่านทันที




คือสิ่งนี้เอง voice recognition ซึ่งเริ่มใช้มาพูดไม่กี่ปีนี้ และปัจจุบัน ผมก็เห็นว่า มันใช้งานได้ ค่อนข้างดี แม้ในการเขียนบทความนี้ ผม ก็ใช้ speech recognition จาก google doc ที่เป็น ปลั๊กอิน ในการเขียนบทความ


ซึ่งจากการทดสอบครั้งนี้ ผมขอยืนยันได้ว่า สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างค่อนข้างถูกต้องเกิน 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถ ใช้งานได้อย่างดี แต่อาจจะต้องพูดช้าช้าชัดชัดๆ และการจัดการย่อหน้า หรือ การเว้นวรรค อาจจะไม่ได้ดั่งใจเท่าไหร่ แต่ส่วนนั้นก็ไม่ใช่ส่วน voice recognition


ซึ่งในปัจจุบัน ผมว่าน่าจะใช้กันแพร่หลาย ตั้งแต่สมัยที่ apple มีการใช้งาน siri และเห็นใช้ภาษาไทยได้ เหมือนกัน แต่บางครั้งในชีวิตประจำวัน เราคนไทยบางครั้งก็พูดทับศัพท์ภาษาอังกฤษบ่อยเกินไป ปัญหาเลยเกิดว่า
เนื้อที่ 1 สำเนียงไม่ดี
แล้วที่ 2 บางครั้งภาษาอังกฤษกับภาษาไทยมีคำบางคำคล้ายๆกัน ทำให้มันก็แยกไม่ออกเหมือนกันว่าไอ้ที่พูดมาเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ


แต่อย่างน้อยผมก็เชื่อว่ามันจะลดเวลาการ พิมพ์ หรือเปล่า เพราะความจริงโหดบางครั้ง ถ้าต้องการชัดเจนอาจจะช้ากว่าพิมพ์ก็ได้ครับ


แต่เอาเป็น youtube มีตัวสร้างภาษาอังกฤษให้
apple มี siri
ให้ google chrome ก็มี โปรแกรมเสริม เช่น Speechnotes


ส่วน google doc มี speech recognition ให้ เป็นตัวเสริม
สวน windows7 ก็มี voice recognition ให้เหมือนกัน แต่ที่ผมกล่าวมา ผมอาจจะไม่ชอบของ windows มากที่สุด


ส่วนโปรแกรมอื่นอื่น ใน iphone มี dragon dictionary ให้ แต่น่าเสียดายที่สามารถใช้บันทึกได้แค่ 1 นาทีเท่านั้น และผมยังไม่เห็นโปรแกรมอื่นอื่นที่ใช้งานได้ดีใกล้เคียงกับ dragon dictionary


แต่ส่วนใหญ่ที่ผมบอกมานั้นสามารถใช้ได้กับเฉพาะภาษาอังกฤษยกเว้นตัว speech recognition และของ google ที่สามารถจัดงานภาษาไทยได้ นอกนั้น ใช้กับภาษาอังกฤษได้ดีครับ


ส่วนอุปกรณ์ที่ต้องใช้ แน่นอนครับ เราต้องมีไมโครโฟน เพื่อนำเสียงส่งไปให้ ให้กับโปรแกรม ในการแปลงค่าออกมาเป็นตัวหนังสือแทนเสียง สำหรับพวก notebook หรือโทรศัพท์ iphone นั้น ไมโครโฟนติดมากับตัวเครื่องโดยส่วนใหญ่อยู่แล้ว แต่อาจจะต้อง ทดสอบ เสียงเล็กน้อยก่อนใช้งานจริง


สรุปการใช้ voice recognition สามารถเป็นจริงได้แล้วในปัจจุบันแต่เพราะว่าอาจจะมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น การฟังสำเนียงการพูดให้ถูกต้อง สำหรับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษบางคำ ก็อาจจะต้องใช้การ การเดาให้ถูกต้อง แต่สำหรับผมแค่นี้ก็สามารถใช้ควบคู่กับการฟังภาษาอังกฤษ ได้อย่างดีแล้วครับ

ขอให้ท่านประสบความสำเร็จในการศึกษาจาก youtube หรือจาก video tutorials ต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยการอ่าน และพัฒนาทักษะการฟัง ผ่านโปรแกรม จำพวก voice recognize ครับ